การจัดการความรู้

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)

1.การบ่งชี้ความรู้  : จะไปสอบถามและแลกเปลี่ยนความรู้กับเจ้าหน้าที่พุทธมามกะและชาวบ้านบริเวณเขตพื้นที่บริการชุมชนสามัคคี ดังต่อไปนี้   
           1.1 กว่าจะมาเป็นศาลาแก้วกู่มีประวัติเป็นมาอย่างไร  
           1.2 ศาลาแก้วกู่เป็นโบราณวัตถุที่สามารถสื่อความหมายหรือผสมผสานหลักคำสอนของศาสนาใด   
           1.3 เทวรูปและเทวลัยเป็นสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ที่รวบรวมศิลปกรรมรูปแบบใดบ้าง  
           1.4 ศาลาแก้วกู่เป็นศิลปกรรมที่เก็บรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ใบลาน หนังสือ คัมภีร์ จิตรกรรมฝาผนัง และภาพเขียน

2.การสร้างและการแสวงหาความรู้ : ศึกษาความรู้ใหม่เกี่ยวกับโบราณวัตถุ เทวรูปและเทวลัย สถาปัตยกรรมและประติมากรรม หลักฐานทางประวัติศาสตร์

3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ   :  นำความรู้ที่จากการแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่พุทธมามกะและชาวบ้านเขตพื้นที่บริการ มารวบร่วมจัดโครงสร้างหมวดหมู่ข้อมูลให้เป็นระบบเพื่อจะนำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่ให้แก่กลุ่มบุคคลและผู้ที่สนใจศึกษา

4.การประมวลกลั่นกรองความรู้   : หลังจากได้กลั่นกรองความรู้แล้ว ทางผู้จัดทำก็จะจัดทำเป็นเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ศาสนา ศาสนสถาน สถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์

5.การเข้าถึงความรู้ : จัดทำสื่อต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาความรู้เกี่ยวกับศาลาแก้วกู่ เช่นจัดทำเป็นเว็บไซต์ , สื่อ VDO ,สร้างเพจ facebook , google+ เป็นต้น

6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้  : การนำความรู้เกี่ยวกับศาลาแก้วกู่ในเรื่องใหม่ๆ สู่การแลกเปลี่ยนความรู้แก่ผู้ที่สนใจต้องการศึกษาเพิ่มเติม  อย่างเช่น การจัดอบรมในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจในเรื่องศาสนา เป็นต้น

7.การเรียนรู้  :  นำความรู้มาปรับใช้และพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่ๆ  อยู่เสมอ เช่น วิธีการทำนุบำรุงศาสนสถานที่สำคัญ การรักษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และวิธีการดูแลเทวรูปเทวลัยรวมถึงประติมากรรมต่างๆ



                                                                                                                                                                     กลับไปด้านบน